หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment 4
1.ให้นักศึกษา gedjet ต่างๆเพื่อหาคำตอิบว่าการใช้งานใน gedjet นั้นๆสามารถทำอะไรได้บ้างและอย่างไร
2.ให้นักศึกษาสร้าง gedjet เพิ่ม1 อย่างจากที่ได้ศึกษาจากข้อ 1
    นำเสนองานในชั้นเรียนครั้งหน้า เพื่อนให้เพื่อนในชั้นเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน

คำตอบข้อที่1
Gadget ข้อความ (Text) เราสามารถใส่ข้อความเป็นตัวอักษรและเป็นลิงก์ได้้ครับ เราไปดูการตั้งค่า Gadget ข้อความ (Text) กันเลยครับ

เมื่อทำการเพิ่ม Gadget ตัวนี้จะแสดงการตั้งค่าดังรูปภาพครับ

  1. ชื่อหัวข้อ
  2. ตัวหนา
  3. ตัวเอียง
  4. สีของตัวอีกษร
  5. ใส่ Link ให้กับข้อความ
  6. ทำข้อความให้เป็นจุดสนใจ
  7. ส่วนของแก้ไข Html
  8. ช่องเขียนข้อความ
สังเกตุดูจะเหมือน การสร้างบทความ เกือบๆทุกประการเลยครับ เมื่อเขียนเสร็จก็บันทึก Gadget ก็จะแสดงเรียบร้อยครับดังรูปตัวอย่าง

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Assignment3.

Assignment 3
ใหนักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้ในสาขาวิชาสังคมศึกษามา 1 ระบบตามหลัก IPOในแต่ละองค์ประกอบให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดองค์ประกอบนั้นๆมาด้วย

คำตอบ
I(input)
วิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชารวมด้วยศาสนาแต่ล่ะศาสนา เช่น พุทธ คริสต์ อิสลาม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นวิชาหลักหรือเนื้อหาที่นำไปสอนแก่นักเรียนนักศึกษาโดยผ่านครูผู้สอน และอุปกรณ์การสอนแบต่างๆ
P(process)
กระบวนการสอนโดยการนำที่ได้ค้นคว้ามาประกอบในการสอนเช่นการนำหลักของการสวดมนต์มาใช้เพื่อสอนเด็กนักเรียนในการจำและนำไปใช้
O(output)
การรับสิ่งที่ครูสอนแล้วนำไปใช้ในการปฏิบัติได้จริง เช่น
-สอบนักธรรมได้
-สวดมนต์ได้
-ฟังธรรมมะเป็น
    

1.การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นSystemหรือไม่

1.การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็นSystemหรือไม่

I (Input)
1. การเตรียมดิน
1.1 ควรเลือกที่ดอน น้ำไม่ขัง ดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ดี หน้าดินลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว pH 5-7.7 แสงแดดจัด และมีการกระจายของฝนสม่ำเสมอ การคมนาคมสะดวก 
1.2 ควรปรับระดับพื้นที่และแบ่งแปลงปลูกอ้อย เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องจักรในการเตรียมดินปลูก และเก็บเกี่ยว ตลอดจนการระบายน้ำ
1.3 การไถ ควรไถอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือมากกว่า ความลึกอย่างน้อย 20 นิ้ว หรือ มากกว่า เพราะอ้อยมีระบบรากยาว ประมาณ 2-3 เมตร และทำร่องปลูก
2. การปลูก 
2.1 ปลูกด้วยแรงคน คือหลังจากเตรียมดินยกร่อง ระยะระหว่างร่อง 1-1.5 เมตร แล้ว นำท่อนพันธุ์มาวางแบบเรียงเดี่ยวหรือคู่ ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกโดยวางอ้อยทั้งลำเหลื่อมกันลงในร่อง เสร็จแล้วกลบดินให้หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ถ้าปลูกปลายฤดูฝนควรกลบดินให้หนาเป็น 2 เท่าของการปลูกต้นฤดูฝน
2.2 การปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก จะช่วยประหยัดแรงงานและเวลา เกษตรกรสามารถปลูกอ้อยได้วันละ 8-10 ไร่ แต่จะต้องมีการปรับระดับพื้นที่และเตรียมดินเป็นอย่างดีด้วย
3. การใส่ปุ๋ย เป็นสิ่งจำเป็น ควรมีการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อปรับสภาพทางกายภาพของดิน ปริมาณปุ๋ยที่ใส่ควรดูตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการเจริญเติบโตของอ้อย ถ้ามีการวิเคราะห์ดินด้วยยิ่งดี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 อย่าง คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม 
4. การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้
5. การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน 

P (Process)
1. การสกัดน้ำอ้อย อ้อยจะไหลลงสะพานลำเลียงซึ่งมีชุดใบมีดและเครื่องตีอ้อย เพื่อเตรียมอ้อยให้เป็นเส้นใยหรือฝอยละเอียดก่อนเข้าสู่ชุดลูกหีบ เมื่อเข้าสู่กระบวนการสกัดน้ำอ้อย อ้อยจะเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) น้ำอ้อยที่ได้จากชุดลูกหีบ จะถูกปั๊มไปผ่านตะแกรงกรองกากอ้อย แล้วส่งเข้าสู่กรรมวิธีทางวิศวกรรมเคมี เพื่่อรักษาคุณภาพน้ำอ้อยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ในขั้นตอนต่าง ๆ จนกระทั่งได้น้ำอ้อยใส 
2. การต้ม น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
3. การเคี่ยวน้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสุญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจาก กากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ
5. การอบ ผลึกน้ำตาลรีไฟน์และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ Dryer เพื่อไล่ความชื้นออก โดยความชื้นสุดท้ายจะเหลือไม่ถึง1% แล้วบรรจุกระสอบ หรือแพคใส่ถุงใสเพื่อจำหน่ายต่อไปเป็นน้ำตาลทราย

O (Output)
สิ่งที่ได้คือ
1. น้ำตาลทราย
2. กากน้ำตาล
3. ชานอ้อย

retrieved from http://sugarcane2836.blogspot.com/p/blog-page_06.html

http://www.thaisugarmillers.com/tsmc-02-02.html

http://oan.cdmediaguide.co.th/mitrphol/onweb/thai-allSUGAR-04.htm